การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรมเป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุด สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมได้ เป็นการตรวจเอกซเรย์เต้านมโดยใช้เครื่องมือเฉพาะ กดเต้านมให้แบนราบมากที่สุดและถ่ายภาพเต้านมข้างละ 2 ท่า อาจมีการทำอัลตราซาวด์เพิ่มเพื่อช่วยในการวินิจฉัยหรือยืนยันว่าสิ่งที่พบผิดปกติในแมมโมแกรม

ซึ่งจะช่วยให้การวินิจฉัยมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น แนะนำให้สตรีอายุ 40 ปี ขึ้นไปตรวจแมมโมแกรมทุก 1-2 ปีสตรีที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมมากกว่าสตรีทั่วไป มีประวัติมะเร็งเต้านมและ/หรือมะเร็งรังไข่ในครอบครัว โดยเฉพาะในญาติสายตรงได้แก่ ยาย มารดา พี่สาวหรือน้องสาว และจะมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นถ้าญาติเหล่านี้เป็นก่อน อายุ 50 ปี หรือมีญาติเป็นกัน หลายคน เคยได้รับการฉายแสงบริเวณหน้าอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่อายุน้อย เคยได้รับการเจาะชิ้นเนื้อหรือผ่าตัดเต้านมแล้วเป็น Lobular carcinoma in situ หรือ Atypical ductal hyperplasia มีประวัติมะเร็งเต้านมในเต้านมอีกข้าง สตรีที่ไม่เคยตั้งครรภ์มีบุตร หรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมากกว่า 35 ปี ผู้ที่ได้รับฮอร์โมนเสริมทดแทนในวัยทองเป็นเวลานานกว่า 5 ปี สตรีที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมดังกล่าวนี้ควรได้รับการตรวจแมมโมแกรมทุกปีเพราะชนิดของมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่มีการตอบสนองต่อฮอร์โมนเพศหญิง การได้รับฮอร์โมนเสริมอาจทำให้มะเร็งที่ซ่อนอยู่โตเร็วขึ้น ดังนั้นจึงควรตรวจแมมโมแกรมทุกปี ช่วงเวลาที่เหมาะสม ที่สุดสำหรับการตรวจแมมโมแกรมคือ 7-14 วัน หลังหมดประจำเดือนเพราะช่วงนี้ฮอร์โมนใน ร่างกายเริ่มลดลง ทำให้เต้านมไม่คัดตึง เวลาใช้แผ่นกดขณะตรวจแมมโมแกรมก็ไม่เจ็บ บางรายที่มีก้อนเนื้องอกธรรมดาหรือถุงน้ำ (ซีสต์) ซึ่งอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นได้เล็กน้อยหรืออาจมีถุงน้ำเพิ่มขึ้นเมื่อใกล้มีประจำเดือนเนื่องจากมีฮอร์โมนมากระตุ้นก็อาจยุบลงไปได้เอง

Scroll to Top