การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการเครื่องมือตรวจหัวใจเบื้องต้น มีประโยชน์ในการคัดกรองความผิดปกติหัวใจเบื้องต้น การตรวจนี้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้เข้ารับการตรวจและค่าใช้จ่ายไม่สูง ขณะตรวจผู้เข้ารับการตรวจจะอยู่ในท่านอนหงายบนเตียงที่จัดเตรียมไว้เจ้าหน้าที่จะนำขั้วไฟฟ้ามาติดตามตำแหน่งต่างๆ เช่น ที่ข้อมือเท้า และหน้าอกหลังจากนั้นเครื่องจะประมวลผลเป็นกราฟคลื่นหัวใจ

ค่าตับสูงเกินปกติ ภัยเงียบอันตรายจากโรคตับ

ค่าตับสูงไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่เพียงเท่านั้น แต่ยังเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทั้งการกิน พักผ่อนน้อย และความเครียด ที่สามารถส่งผลกับสุขภาพตับได้ ซึ่งความผิดปกติของตับ สามารถตรวจเช็คได้จากการตรวจเลือดโดยดูจากค่า ALT และค่า AST หากพบว่า ค่าตับสูง เกิน 40 U/L แสดงว่า ตับคุณมีปัญหา หากไม่รีบลดค่าตับ อาจลุกลามไปสู่โรคตับแข็ง

การตรวจโรคเลือดจางเอ็มดีเอสในผู้สูงอายุ

โรคเลือดจางเอ็มดีเอสเป็นกลุ่มโรคซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดที่ผิดปกติหรือไม่สมบูรณ์กล่าวคือการสร้างเม็ดเลือดแดงผิดปกติทำให้เกิดภาวะซีดหรือโลหิตจาง การสร้างเม็ดเลือดขาวผิดปกติทำให้ระดับเม็ดเลือดขาวต่ำและเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ การสร้างเกล็ดเลือดผิดปกติทำให้ระดับเกล็ดเลือดต่ำลง

อัลตราซาวด์อวัยวะในช่องท้องส่วนบน-ล่าง

การตรวจอวัยวะในช่องท้องส่วนบนเป็นการตรวจดูตับ ตับอ่อน ม้าม ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี ไต ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ หรือมีก้อนที่ผิดปกติเกิดขึ้นบริเวณอวัยวะใดหรือเปล่า ซึ่งขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนตรวจอวัยวะในช่องท้องส่วนบนและส่วนล่างก็จะต่างกัน การเตรียมตัวเข้ารับการตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบนสำหรับผู้ที่จะมาตรวจอวัยวะในช่องท้องส่วนบนต้องเตรียมตัวโดยการงดอาหาร

ตรวจสุขภาพลำไส้ ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่พบบ่อยเป็นลำดับ 4 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศไทย ในแต่ละปี มีผู้ป่วยทั้งผู้หญิงและผู้ชายเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์หรือครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยทั้งหมด เนื่องจากโรคนี้มักมีอาการปรากฏให้เห็นเมื่อผู้ป่วยอยู่ในระยะที่ 3 ซึ่งเป็นระยะก่อนระยะสุดท้าย ทำให้โอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยมีน้อยลง

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรมเป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุด สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมได้ เป็นการตรวจเอกซเรย์เต้านมโดยใช้เครื่องมือเฉพาะ กดเต้านมให้แบนราบมากที่สุดและถ่ายภาพเต้านมข้างละ 2 ท่า อาจมีการทำอัลตราซาวด์เพิ่มเพื่อช่วยในการวินิจฉัยหรือยืนยันว่าสิ่งที่พบผิดปกติในแมมโมแกรม

การตรวจสมรรถภาพการทำงานของไต

การตรวจการทำงานของไตคือการตรวจดูสมรรถภาพการทำงานของไตได้จากการตรวจเลือดและการตรวจปัสสาวะ ซึ่งโดยหลัก ๆ แล้วจะประกอบไปด้วยการตรวจ BUN, Creatinine และ eGFR ทั้งนี้ก็เพื่อดูว่าไตสามารถทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดขับทิ้งปัสสาวะได้เป็นปกติหรือไม่ ไตเป็นอวัยวะคู่ที่ตั้งอยู่ใกล้กระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอวทั้งด้านซ้ายและขวา

การตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบมี 5 ชนิดประกอบด้วย ไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดีและอี โดยไวรัสที่เป็นปัญหาสำคัญในบ้านเราได้แก่ ไวรัสตับอักเสบบีและซี เนื่องจากไวรัสทั้งสองชนิดทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็งและมีมะเร็งตับตามมา ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ในประเทศไทยคาดว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีประมาณร้อยละ 5 ของประชากรหรือประมาณ 3 ล้านคน

ตรวจหาเชื้อ HPV ลดโอกาสเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกคือสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ของมะเร็งระบบสืบพันธุ์ ซึ่งมีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส HPV โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะไม่แสดงอาการจนกว่าโรคจะพัฒนาจนร้ายแรง ฉะนั้นการป้องกันความเสี่ยงที่ดีที่สุดคือการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้นร่วมกับตรวจหาเชื้อไวรัส HPV DNA Test

ตรวจคัดกรองระบบทางเดินปัสสาวะ

ปัสสาวะเป็นระบบสำคัญในการขับถ่ายของเสียในรูปแบบของเหลวที่มีส่วนประกอบเป็นสารเกลือแร่ วิตามินและสารเคมีต่าง ๆ ที่เอ่อล้นในปริมาณมากเกินความจำเป็นจนต้องถูกออกจากร่างกายอย่างสม่ำเสมอ หากสารเหล่านี้เกิดการตกตะกอนเป็นก้อน อาจนำภัยอันตรายเข้าสู่ระบบทางเกินปัสสาวะและอวัยวะภายในร่างกายอีกด้วยการตรวจปัสสาวะเป็นปัจจัยในการดูสุขภาพภายในร่างกาย

Scroll to Top