การวินิจฉัยอาการหูตึงในผู้สูงวัย

ปัญหาหนึ่งของสูงอายุคือการสูญเสียการได้ยิน ซึ่งเกิดจากประสาทหูชั้นในค่อยๆ เสื่อมไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น แม้อาการหูตึงในผู้สูงวัยจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากเท่ากับโรคร้ายแรงอื่นๆ แต่ก็กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมากและอาจเกิดปัญหาการสื่อสารระหว่างผู้ดูแลและผู้สูงอายุ ส่งผลให้ผู้สูงอายุเข้าใจผิดเรื่องการรับประทานยาหรือการดูแลตัวเอง

จนส่งผลเสียต่อโรคประจำตัวที่เป็นอยู่หรือผู้สูงอายุอาจปลีกตัวออกจากสังคมเนื่องจากขาดความมั่นใจ จนเกิดภาวะเครียดและซึมเศร้าในที่สุด สาเหตุของอาการหูตึงในผู้สูงวัย เกิดจากเส้นประสาทหูและเซลล์ขนในหูชั้นในเสื่อมลงตามอายุ โดยเซลล์ขนส่วนฐานของคอเคลีย จะเริ่มเสื่อมก่อน ส่งผลให้เมื่ออายุมากขึ้นจะไม่ได้ยินช่วงเสียงแหลมความถี่สูง จากนั้นความเสื่อมจะค่อยๆ ลามไปถึงช่วงความถี่กลางซึ่งเป็นระดับของเสียงพูด จึงทำให้ผู้สูงอายุเริ่มฟังไม่ชัดเจน โดยเริ่มแสดงอาการเมื่ออายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป นอกจากนี้โรคเรื้อรังและการรับประทานยาบางชนิดอาจเป็นปัจจัยให้ประสาทหูเสื่อมเร็วขึ้น เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น ในบางกรณีหากปล่อยทิ้งไว้ภาวะหูตึงอาจเพิ่มขึ้นจนถึงขั้นหูตึงขั้นรุนแรง

Scroll to Top